ชมพูภูคา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl
วงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE
ต้นไม้พันธุ์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก พบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ดอกจะบานประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ชมพูภูคา เป็นดอกไม้ สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ชมพูภูคา เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ให้คงอยู่ตามแนวพระราชดำริชื่อวิทยาศาสตร์: Bretschneidera sinensis Hemsl. ชื่อวงศ์: BRETSCHNEIDERACEAE เป็นไม้ต้นสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม ดอก สีชมพู คล้ายรูประฆัง ออกเป็นช่อที่ ปลายยอด ช่อยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้นๆ กลีบ ดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8-2 เซนติเมตร กลีบบนมักคว่ำลง เกสรผู้ 8 อัน ผล รูปกระสวย แก่แล้วแตก เมล็ด รูปรี กว้าง 12 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร
อ่านเพิ่มเติม